เมื่อผู้ประกอบการมีเหตุจำเป็นที่จะต้องเลิกดำเนินธุรกิจไม่ว่าสาเหตุจะมาจากเหตุผลใดก็ตาม ผู้ประกอบการจำเป็นที่ต้องดำเนินการเลิกกิจการให้ถูกวิธีและต้องตามกฎหมายเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง สำหรับท่านที่ยังไม่มีประสบการณ์ในด้านนี้ผู้เขียนได้รวบรวมแนวทางการเลิกกิจการไว้เป็นข้อๆดังนี้ครับ
1) กรณีที่เป็นบริษัท จะต้องตกลงกับผู้ถือหุ้นว่าจะทำการเลิกกิจการ
- จัดทำหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อแจ้งให้ทุกคนทราบว่าจะมีการเลิกทำธุรกิจ
- แจ้งข่าวในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นอย่างน้อย 1 ครั้ง
- จัดประชุมผู้ถือหุ้นทุกคน โดยต้องมีการลงมติเห็นด้วยไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนผู้ถือหุ้น(ต้องมีการแต่งตั้งผู้สอบบัญชีด้วย)
- แจ้งข่าวหลังจากลงมติเรียบร้อยว่าจะเลิกกิจการ ในหนังสือพิมพ์อย่างน้อย 1 ครั้ง
- จัดทำเอกสารยื่นจดเลิกกิจการ และนำเอกสารไปยกเลิกจดทะเบียนที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าภายใน 14 วัน
2) ผู้ประกอบการจะต้องเคลียร์เอกสารด้านภาษีให้เรียบร้อย
โดยต้องให้นักบัญชีที่มีความเชี่ยวชาญจัดการให้ ปกติก็สามารถใช้นักบัญชีที่ยื่นภาษีให้ท่านอยู่แล้วได้ แต่ถ้าหากไม่มีลองติดต่อปรึกษาที่เว็บไซต์นี้ https://inflowaccount.co.th/
3) แจ้งเจ้าของพื้นที่ว่าจะเลิกกิจการ
ในกรณีที่เช่าพื้นที่ในดำเนินกิจการ ท่านต้องแจ้งกับเจ้าของที่ให้เช่า ให้ชัดเจนว่าจะทำการเลิกกิจการแล้วจะย้ายออกเมื่อไหร่ ในการทำสัญญาเช่าส่วนใหญ่จะมีค่ามัดจำ เงินส่วนนี้ท่านสามารถทวงคืนได้ครับ(ถ้าเราไม่ผิดสัญญาเช่า)
4) แนวทางการย้ายของออกจากพื้นที่
กรณีเลิกกิจการและท่านจะไม่ทำธุรกิจเดิมต่ออีกแล้ว ข้าวของเครื่องมือที่เคยใช้ทำธุรกิจ ท่านสามารถนำไปจำหน่ายเป็นของมือสองต่อได้ ยกตัวอย่างเช่น กรณีเลิกกิจการร้านซ่อมรถ ก็จะมีเครื่องไม้เครื่องมืออุปกรณ์ช่างทั้งหลายที่ยังมีคนต้องการอยู่ ซื่งท่านสามารถไปลงประกาศขายได้ด้วยตนเองแต่วิธีนี้จะทำให้เสียเวลาและอาจจะขายไม่ทันก่อนกำหนดเวลาที่จะต้องย้ายออก
ปัญหาดังกล่าวท่านสามารถแก้ไขด้วยการขายเหมาให้ผู้ที่รับซื้อของเลิกกิจการโดยเฉพาะ สำหรับท่านที่ไม่อยากเสียแรงเสียเวลาย้ายของจุกจิกออกแนะนำร้านเพชรทวีคูณเพราะมีบริการเคลียร์ริ่งพื้นที่ฟรีด้วย ติดต่อได้ที่ลิงค์ : รับซื้อของเลิกกิจการ
5) ลบช่องทางการติดต่อ
กรณีที่มีเว็บไซต์หรือ แฟนเพจ หรือ channel YouTube แนะนำให้ไปลบเบอร์หรือตั้งค่าความเป็นส่วนตัวไม่ให้เห็นเป็นสาธารณะ หรือลบทิ้งไปเลยกรณีต้องการเลิกทำแบบถาวร เพื่อลดปัญหาลูกค้าที่ไม่รู้ว่าท่านเลิกกิจการโทรมาถามสินค้า เพราะอาจจะทำให้ท่านเสียเวลาในการเริ่มธุรกิจอื่นได้
แต่ถ้าธุรกิจของท่านยังจำเป็นต้องซัพพอร์ทลูกค้าเก่าอยู่ ก็แนะนำว่าอย่าพื่งลบออกนะครับ
ปล. สุดท้ายนี้อยากฝากให้กำลังใจถึงท่านที่กำลังจะเลิกดำเนินธุรกิจว่า “ชีวิตนี้ยังไม่สายที่จะเริ่มต้นใหม่ครับ สักวันมันต้องเป็นวันของเรา”
More Details